ที่มาของคำว่า "เขาดินวนา" จากคำบอกเล่าของไกด์นำเที่ยวภายในสวนสัตว์ดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระราชอุทยานส่วนพระองค์บริเวณที่ราบด้านตะวันออกของพระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ. 2438 การสร้างก่อสร้างพระราชอุทยานเริ่มด้วยการขุดสระน้ำขนาดใหญ่เป็นรูปพระราชหัตถเลขา พระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร." ดินที่ได้จากการขุดสร้างสระน้ำถูกนำมาถมเป็นเนินดินลักษณะคล้ายภูเขาขนาดย่อม คำว่าเขาดินจึงเริ่มจากตรงนี้ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้นำต้นไม้นานาพรรณมาปลูกไว้บนเนินดินนี้ เขาดินวนาจึงกำเนิดเกิดขึ้นอยู่ในพระราชอุทยานสวนดุสิต
ที่มาแผนที่ : http://www.zoothailand.org/
เมื่อครั้งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ โดยเมื่อ ปรินส์ วัลดิมาร์ แห่งเดน มาร์ก เสด็จฯ เยือนสยามในฐานะพระราชอาคันตุกะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานต้นสักทองให้ทรง ปลูกไว้เป็นที่ระลึก ณ เนินเขาดินวนา เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2443 พร้อมกับศิลาสลักอักษรจารึกไว้เป็นหลักฐาน
จวบกระทั่งถึงวันนี้ ต้นสักซึ่งเป็นตัวเชื่อมสัมพันธไมตรี ณ เนินเขาดินวนา อายุ 109 ปี มีความสูงถึง 21 เมตร และมีเส้นรอบวง 1 เมตร 60 เซนติเมตร ทางการได้ล้อมรั้วเล็ก ๆ และปลูกต้นไม้ล้อมกรอบ
ใกล้กับต้นสัก ตั้งศิลาสลักจารึกอักษรเป็นหลักฐานระบุว่า ปรินส์ วัลดิมาร์ แห่งเดนมาร์ก เป็นผู้ปลูกและวันที่ปลูก วันที่ 3 มกราคม รัตนโกสินทร์ศก 118
ใน พ.ศ. 2481 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานสวนดุสิต มาจัดตั้งเป็นสวนสัตว์และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน เพิ่มเติมจากสวนลุมพินี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ ทั้งยังทรงพระราชทานกวางดาว ลูกหลานกวางดาวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจากอินโดนีเซีย เมื่อครั้งเสด็จประพาสหมู่เกาะชวา เมื่อ พ.ศ. 2451 และสัตว์อื่นอีก 2-3 ชนิด จากสวนกวางบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน มาเลี้ยงไว้ในเขาดินวนา ตั้งชื่อสวนสัตว์นี้ว่า "สวนสัตว์ดุสิต"
จวบกระทั่งถึงวันนี้ ต้นสักซึ่งเป็นตัวเชื่อมสัมพันธไมตรี ณ เนินเขาดินวนา อายุ 109 ปี มีความสูงถึง 21 เมตร และมีเส้นรอบวง 1 เมตร 60 เซนติเมตร ทางการได้ล้อมรั้วเล็ก ๆ และปลูกต้นไม้ล้อมกรอบ
ใกล้กับต้นสัก ตั้งศิลาสลักจารึกอักษรเป็นหลักฐานระบุว่า ปรินส์ วัลดิมาร์ แห่งเดนมาร์ก เป็นผู้ปลูกและวันที่ปลูก วันที่ 3 มกราคม รัตนโกสินทร์ศก 118
ที่มาข้อมูล : Daily News Online
อนุเสาวรีย์เนื้อสมัน หรือสมัน หรือกวางเขาสุ่ม กวางที่มีเขาสวยงามและเป็นที่ต้องการมาก ในสมัยก่อนมีอยู่มากมายในทุ่งรังสิต แต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว อนุเสาวรีย์สัญลักษณ์ที่ให้ตระหนักถึงการล่าจนสูญพันธุ์ เพียงเพราะว่ามันมีเขาที่สวยงาม
สมันเป็นกวางขนาดกลาง มีเขาสวยงามมากจนได้ชื่อว่าเป็นกวางที่สวยงามที่สุดชนิดหนึ่งของโลก น้ำหนัก 100-120 กิโลกรัมมีความยาวลำตัว 180 เซนติเมตร ความสูงหัวไหล่ 104 เซนติเมตร หางยาว 10 เซนติเมตร ขนหยาบสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างลำตัวและบริเวณแก้มจางกว่า บริเวณจมูกสีเข้มหรือสีดำ สีบริเวณขาและหน้าผากค่อนข้างอมแดง ใต้หางสีขาว ขนแผงคอยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
เขาสมันตีวงกว้าง โค้ง และแตกกิ่งมาก ดูเหมือนสุ่มหงาย จึงมีชื่ออีกชื่อว่า "กวางเขาสุ่ม" กิ่งรับหมา (brow tine) ยาวและชี้มาด้านหน้าเป็นมุม 60 องศากับใบหน้า กิ่งอื่นยาวกิ่งละประมาณ 30 เซนติเมตร ลำเขา (beam) ตั้งฉากกับกิ่งรับหมา ความยาวประมาณ 12 เซนติเมตร การแตกกิ่งมักจะแตกออกเป็นสองกิ่งเสมอ โดยเฉลี่ยเขาแต่ละข้างมีจำนวนกิ่งทั้งสิ้น 8-9 กิ่ง ความยาวเฉลี่ยของเขา 65 เซนติเมตร เคยมีบันทึกว่ามีสมันที่เขาแตกกิ่งมากถึง 33 กิ่ง
สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในปี พ.ศ.2475 มีบันทึกว่าสมันตัวสุดท้ายในธรรมชาติอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นตัวผู้ที่มีเขาสวยงาม ถูกยิงตายโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังจากนั้นจึงเหลือเพียงสมันในกรงเลี้ยงเท่านั้น แต่น่าเศร้าที่การเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงทำไม่สำเร็จ จึงไม่อาจเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีก สมันตัวสุดท้ายในโลกเป็นสมันตัวผู้ที่เลี้ยงอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แม้กระนั้นก็ไม่ได้ตายอย่างสงบ เพราะถูกชายขี้เมาคนหนึ่งตีตายในปี 2481 หลังจากนั้นก็ไม่มีใครเห็นสมันอีกเลย
แม้จะมีข่าวลือว่าพบสมันอีกในที่ต่าง ๆ แต่ก็พิสูจน์ไม่ได้ ซากที่สมบูรณ์ของสมันมีเพียงซากเดียวเท่านั้น เก็บอยู่ในกรุงปารีส ซึ่งเป็นซากของสมันตัวที่อาศัยอยู่ในสวนพฤกษศาสตร์ (Jardin des Plantes) ในปี 2410
ในปีพ.ศ. 2481 ได้มีการก่อตั้ง สวนสัตว์ดุสิต ในความดูแลของเทศบาลนครกรุงเทพฯ ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย โดยขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี องค์การสวนสัตว์ได้ใช้รูปเนื้อสมันเป็นตราสัญลักษณ์ เพื่อระลึกและเตือนใจถึงการสูญพันธุ์ของเนื้อสมัน
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมป์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมป์ (อสส.) " ปัจจุบันเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริม และขึ้นตรงกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่หลบภัยสาธารณะ หรือหลุมหลบภัย ภายในสวนสัตว์ดุสิตนี้ถูกค้นพบโดยเจ้าหน้าที่ของสวนสัตว์ดุสิต เดิมที่แห่งนี้เป็นกรงเลี้ยงกวางดาวของสวนสัตว์ ภายหลังการค้นพบได้มีการบูรณะใหม่ แล้วย้ายกรงเลี้ยงกวางไปไว้ด้านข้าง และมีการจัดนิทัศการเกี่ยวกลับสงคราม ประวัติความเป็นมาของที่หลบภัยสาธารณะ
คาดกันว่าที่หลบภัยสาธารณแหล่งนี้จะเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังคงสมบูรณ์อยู่ จากรูปจะสังเกตุเห็นคำว่า "สาธารนะ" ใช้ตัวอักษร "น" ตัวหนังสือที่เห็นนี้เป็นตัวหนังสือแต่เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
เก้งเผือกเก้งเผือกตัวนี้ มีชื่อว่า ”เพชร” ทางสวนสัตว์ดุสิต ได้รับมาจากประชาชนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2545 และจากการตรวจสอบข้อมูลประชากรเก้งธรรมดาทั่วโลก ไม่พบว่ามีที่ใดมีเก้งเผือกลักษณะนี้เลย จึงถือได้ว่าเก้งเผือกตัวนี้เป็นเก้งเผือกตัวเดียวในโลก และทางองค์การสวนสัตว์ได้นำเก้งเผือกขึ้น ทูลเกล้าถวายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จฯ ได้พระราชทานให้ทางองค์การสวนสัตว์เป็นผู้ถวายการดูแลเก้งเผือกตัวนี้
เก้งเผือกมีลักษณะสีขาวปลอดทั้งตัว และจากการตรวจสอบข้อมูลเก้งทั่วโลก ไม่พบว่าที่ใดมีเก้งเผือกลักษณะนี้ จึงนับว่าเพชรเป็นเก้งเผือกตัวแรกของโลก
ทางสวนสัตว์ดุสิต ได้นำเก้งเผือกมาเลี้ยงไว้ที่ส่วนแสดงกวางและสัตว์สงวนของสวนสัตว์ โดยให้อยู่กับเก้งธรรมดา เพศเมีย อีก 4 ตัว และได้ผสมพันธุ์และมีลูกที่เกิดจาก “เพชร” รวม 8 ตัว รวมทั้ง แม่ 63 ซึ่งเป็นเก้งธรรมดาเพศเมียที่เกิดจากเพชร และแม่เก้ง หมายเลข 02 และแม่เก้ง หมายเลข 63 ได้ถูกเลี้ยงดูอยู่กับ “เพชร” จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2550 ได้ให้กำเนิดลูกตัวที่ 2 เป็นเพศผู้ และเป็นลูกตัวที่ 9 ของ “เพชร” ซึ่งเป็นเก้งเผือก ที่มีสีขาวปลอดทั้งตัวเหมือน “เพชร” จึงนับได้ว่าลูกเก้งตัวนี้ คือเก้งเผือกตัวที่ 2 ของโลก และลูกเก้งเผือกตัวแรกนี้ มีชื่อว่า “พุด” และเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 แม่เก้ง หมายเลข 63 ได้คลอดลูกตัวที่ 3 ที่เกิดจากเก้ง “เพชร” ออกมาเป็นเพศผู้ และมีลักษณะเป็นเก้งเผือกอีกเช่นเดียวกับ “พุด” จึงนับได้ว่าลูกเก้งตัวนี้ คือเก้งเผือกตัวที่ 3 ของโลก
ที่มาภาพและข้อมูล : www.dusitzoo.org
สัตวืเลื้อนครานอีกชนิดหนึ่งที่มิได้อยู่ในกรงเป็นส่วนมาก หากสังเกตุกันดีๆ จะพบเห็นได้ตามสายน้ำโดยทั่วไปในสวนเแห่งนี้ เหมือนเป็นสวนสัตว์เปิดของมันเลย
แต่มิต้องกลัวเพราะยังไม่เคยเห็นตัวมันขึ้นมาเดินเเพ่นพ่านบนบกเลย แต่คงอาจขึ้นมาบางหละนา แต่ยังไม่เคยเห็น
นกพราบ ซึ่งน่าจะเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของสวนสัตว์ดุสิต อาจจะเป็นอดีตไปแล้วเมื่อตอนเด็กที่เคยได้ไปเที่ยวจะมีนกพิราบเยอะแยะมากมาย มีที่ขายอาหารนกพิราบอยู่ตรงที่เดียวกับที่ให้อาหารปลา เห็นแล้วนึกถึงตอนเด็กๆเหมือนกัน
ณ ปัจจุบัน นกพิราบถูกแทนที่ด้วยนกกาสสีดำตัวใหญ่ แต่ยังพบมีนกพิราบให้เห็นอยู่บ้าง
ความสดชื่นร่มเย็น และอากาศบริสุทธิที่ท่านจะได้รับ
บรรยากาศทิวทัศน์ดั่งป่า และสายน้ำดุจกระจกเงา
♫ ♪ ยามเย็นเราพากันเดินเล่น เราพากันเดินโดดเด่น อยู่ไปในทั่วทุกหนแห่ง
อาทิตย์ที่มีแสงร้อนแรง ต้องกลับสิ้นแสงเพราะเจ้าสิ้นแรง ตามทางกันแสงจันทร์ ♪ ♫
วันจันทร์-วันศุกร์ เปิดใหใช้บริการถึง 18.00 นาฬิกา วันเสาร์-อาทิตย์ ทางสวนสัตว์ดุสิตเปิดให้ใช้บริการได้ถึงเวลา 21.00 นาฬิกา เปิดให้ชมบรรยากาศยามเย็นกันเต็มอิ่ม และความสวยงามของแสงไฟยามค่ำคืนอาทิตย์ที่มีแสงร้อนแรง ต้องกลับสิ้นแสงเพราะเจ้าสิ้นแรง ตามทางกันแสงจันทร์ ♪ ♫
No comments:
Post a Comment